วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



-คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ

-ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
  คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์  หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  มี5 ส่วน คือ
1.) หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
    ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าระบบ เช่น แป้นอักขระ แผ่นซีดี ไมโครโฟน
2.) หน่วยประมวลผลกลาง (Center Process Unit) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกยะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
3.) หน่วยความจำ ( Memmory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลกลางและเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4.) หน่วยแสดงผล (Out Unit ) ทำหน้าที่แสดงผลจากคอมพิวเตอร์
5.) อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment ) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธฺภาพให้ดีขึ้น

-ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.) มีความเร็วในการทำงานสูง
2.) มีประสิทภาพในการทำงานสูง
3.) มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.) เก็บข้อมูลได้มาก
5.) สามารถโอนย้ายข้อมูล จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้

-ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึงกรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่นระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาลเป็นต้น
*การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง*

-องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1.) ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2.) ซอฟต์แวร์ (Software)
3.) ข้อมูล (Data)
4.) บุคลากร (Peple)

*ฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่นต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้
-ส่วนประมวลผล
-ส่วนความจำ
-อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก
-อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล


ส่วนที่ 1 CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวที่เปรียบเสมือนสมอง หน้าที่หลักคือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล
ส่วนที่ 2 Memory หน่วยความจำ
-ความจำหลัก
-ความจำสำรอง


1.หน่วยความจำหลัก
          แบ่งได้ 2 ประเภทคือหน่วยความจำแบบ "แรม"(RAM) และหน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM)        
          1.1 หน่วยความจำแบบ "แรม" (Ramdom Access Memory)
                   เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะข้อมูลหรือโปรแกรม

          1.2หน่วยความจำแบบ "รอม" (Read Only Memory)
                   เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรม หร์อข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว หน่วยความจำแบบลบเลือน(Nonvolatile Memory)



หน่วยความจำสำรอง(Secondary Memory Unit)
   หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรองเป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
   หน่วยความจำสำรองมีหน้าที่คือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูล
2.ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรแกรมได้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
   ประโยชน์ของหน่วยความจำรอง
    หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ เพราะข้อมูลต่างๆที่ได้ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้าอาจทำให้ข้อมูลสูญหาย จึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรองเพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป  หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึก  แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
     ส่วนแสดงผลข้อมูล
   ส่วนแสดงผลข้อมูลคือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง ให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ(Moniter) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์ภาพ (Ploter) และลำโพง (Speaker)   เป็นต้น
     บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์หมายถึง คนที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของงานคอมพิวเตอร์
     ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(People ware)
1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3.ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

  บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์(EDPManager)
2.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน(System Anlyst หรือSA)
3.โปรแกรมเมอร์(Programmer)
4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์(Computer Operator)
5.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล(Data Entry Operator)
-นักวิเคราะห์ระบบงาน
  ทำการศึกษาระบบงานเดิม  ออกแบบระบบงานใหม่
-โปรแกรมเมอร์
  นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
-วิศวกรระบบ
  ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
-พนักงานปฏิบัติการ
  ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจประจำวัน
      อาจแบ่งได้ดังนี้
1.ผู้จัดการระบบ
2.นักวิเคราะห์ระบบ
3.โปรแกรมเมอร์
4.ผู้ใช้
   ซอฟต์แวร์คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกัน ให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามต้องการ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด
   หน้าที่ของซอฟต์แวร์
 ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้
   ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

ซอฟต์แวร์ระบบ
  เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ  หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์เช่นรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ
  System Softwareหรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดี คือ Dos Window Unix Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง  เช่น ภาษา Basic Fortran
   

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1.ใช้ในการจัดหน่วยรับ หน่วยส่งออกของคอมพิวเตอร์ เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผนแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
2.ใช้ในการจักการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น  เช่น การทำสำเนาแฟ้มข้อมูลต่างๆ
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
1.ระบบปฏิบัติการ  OS
2.ตัวแปลภาษา

ระบบปฏิบัติการหรือ OS
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้  ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ ลีนุกส์ เป็นต้น

1.ดอส (Disk Operating System :DOS)  เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว
2.วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติงานที่พัฒนามาต่อจากดอสโดยให้ผู้ใช้สั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้น
3.ยูนิกส์(Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กันเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่ง นิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเครือข่าย
4.ลีนุกส์(Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกส์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกส์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน  ลีนุกส์สามารถทำงานได้บน CPU หลายตระกูล เช่น อินเทล ดิจิตอล ซันสปาร์ค
5.แมคอินทอส  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอส ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก  ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้มากในสำนักพิมพ์ต่างๆ
  ชนิดของระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด
1.     ประเภทใช้งานเดียว
ระบบปฏิบัติการนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น
2.     ประเภทใช้ได้หลายงาน
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงาน ในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถทำงานกันซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิด
3.     ประเภทใช้งานหลายคน
ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล  ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน  จึงต้องมีความสามารถสูง

-ตัวแปลภาษา
    การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง  ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา  ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุง แก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
    ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาระดับสูง  ได้แก่ ภาษา Basic, Pascal, C, และภาษาโลโก
1.)    ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้างเขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ  ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกมาเป็นชิ้นเล็กๆแล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2.)    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้แล้วเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3.)    ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ  ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง
4.)    ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรม ภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก

   นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่  Fortran , Cabal  และภาษาอาร์พีจี
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software)
   ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่น                            
งานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์รายงาน  วาดภาพ  เล่นเกม  หรือโปรแกรมระบบบัญชี  รายรับรายจ่าย  และเงินเดือน  โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์  ใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงกันระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้  เน้นการใช้งานสะดวก
   
-ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิตมี 2 ประเภทคือ
1)  ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองโดยเฉพาะ
2)  ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป
           2.1) ทั้งโปรแกรมเฉพาะ
           2.2) โปรแกรมมาตรฐาน

แบ่งตามกลุ่มการใช้งานมี 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ   
    1)  กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ   (Business)
    2)  กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมิเดีย
    3)  กลุ่มการใช้งานบนเว็บ
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกใช้โดยมุ่งหวังในการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจักพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน  และการบันทึกนัดหมายต่างๆ  เช่น
    -โปรแกรมประมวลคำ อาทิ  Microsoft word, sun star office writer
    -โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel, sun star office cals
    -โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft Power Point, sun star office impress
กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมิเดีย
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมิเดีย  เพื่อให้งานง่ายขึ้น    เช่น ตกแต่ง วาดรูป  ปรับเสียง การออกแบบเว็บไซด์ เช่น
   -โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft risio Professional
   -โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDraw, Adobe Premiere, Pinnacle studio DV
   -โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle studio DV
   -โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมิเดีย อาทิ Adobe Autnorware, Tool book Instructor, Adobe Director
  -โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dream weaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
    เมื่อการเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่นโปรแกรมการตรวจเช็คอีเมลล์, การท่องเว็บไซด์การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร  
   ตัวอย่างโปรแกรมกลุ่มนี้ได้แก่
-โปรแกรมจัดการอีเมลล์ อาทิ Microsoft  Outlook ,Mozzila Thunderbird
-โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft  Internet ,Explorer , Mozzila  Firefox
-โปรแกรมประชุมทางไกล  (Video Conference)
-โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Intent Messaging)  เช่น MSN

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
    ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ  เป็นการสั่งงานตามลำดับขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมเรียบเรียงไว้ในรูปของเลขฐานสองซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ตัวอักษร  รูปภาพ  และเสียง
     ภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกันได้มากมาย  เพราะคำสั่งหรือซอฟต์แวร์แต่ละโปรแกรมจะถูกออกแบบสำหรับใช้กับแต่ละงานแตกต่างกัน  เช่น โปรแกรมสำหรับจัดทำเอกสาร  โปรแกรมสำหรับจัดทำบัญชี  โปรแกรมสำหรับจัดทำสื่อการเสนอ  โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภาพนิ่ง   โปรแกรมเกี่ยวกับการตัดต่อภาพเคลื่อนไหว  ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งบางโปรแกรมสามารถประยุกต์ใช้งานดีอีกหลายด้านตามความสามารถของผู้เขียนและผู้ใช้โปรแกรมนั้นๆ
     การใช้ภาษาเครื่องนี้  ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก  เพราะเข้าใจและจดจำยาก  จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปที่เป็นตัวอักษร  เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
   การทำงานที่ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบกับชีวิตประจำวันแล้ว  เรามีภาษาที่ใช้ติดต่อซึ่งกันและกัน  เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม   จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อ  เพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้   เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์

-ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
   -ภาษาเครื่อง (Machine  Languages)
  เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าที่แทนค่าด้วยตัวเลข 0  และ1 โดยผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์  รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้  คอมพิวเตอร์สามารถแปลผลอย่างเป็นเหตุเป็นผลเชิงตรรกะได้อย่างถูกต้อง  เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งสำหรับคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง
   -ภาษาแอสแซมบลี (Assemble  Languages)
  เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจาดภาษาเครื่อง ภาษานี้ช่วยลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรม
   -ภาษาระดับสูง (High – Level  Languages)
  เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3  เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ  ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่ง  เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น  โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอร์(Compiler) และอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)

คอมไพเลอร์(Compiler)
จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
จะทำการแปลทีละคำสั่ง  แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
    ข้อแตกต่างระหว่างเรียกว่า คอมไพเลอร์(Compiler) และอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง  ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล


ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-การทำงานของระบบ  Network และ Internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network: LAN)
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน  เช่น ภายในอาคาร
2.เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network: MAN)
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงใหญ่ขึ้น  ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน
3.เครือข่ายในบริเวณกว้าง (Wide Area Network: WAN)
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นอีกระดับโดยเป็นการรวม LAN และ MAN เข้าด้วยกันมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จะครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการควบคุมไปทั่วประเทศหรือทั่วโลก เช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

-รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)
 การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย  รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย  โดยแบ่งโครงสร้างของเครือข่ายหลักได้ 4  แบบคือ
-เครือข่ายดาว
-เครือข่ายวงแหวน
-เครือข่ายบัส
-เครือข่ายต้นไม้


1. แบบดาว   เป็นการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆมาต่อรวมกันกับหน่วยสลับสายกลาง  การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้โดยการติดต่อผ่านวงจรของหน่วยสลับสายกลาง
   ลักษณะการทำงาน  จะมีสถานีกลางหรือ ฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย  สถานีกลางจึงมีหน้าที่ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย  การสื่อสารภายในของเครือข่ายดาว  จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่ สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้  เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล   เครือข่ายดาวเป็นเครือข่ายหนึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

2.แบบวงแหวน  เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น  เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลตามนั้น

3.แบบบัส  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิล  ในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียว เท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ  การส่งข้อมูลจะต้องมีวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งพร้อมกัน เพราะจะทำให้ชนกัน  การติดตั้งเครือข่ายนี้  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะใช้สายเคเบิลเพียงเส้นเดียวเท่านั้น
  ลักษณะการทำงาน อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสายหลัก ที่เรียกว่า “Bus” (บัส) เพราะสายสื่อสารหลักที่เรียกว่าบัสมีสายเดียว

4.แบบต้นไม้    เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลาง ไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด

-การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  
แบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง   เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ ใช้สายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง  โดยคำสั่งต่างๆมาประมวลที่เครื่องกลาง

2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer   แต่ละสถานีงานของระบบเครือข่าย Peer-to Peer จะมีความเท่าเทียมกัน สามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้กันได้ เช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน ใช้ข้อมูลร่วมกันบนเครือข่ายได้

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server   สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล
 ระบบนี้ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง  สนับสนุนการทำงานแบบ  Multiprocessor  สามารถเพิ่มขยายผู้ใช้ได้ตามต้องการ








  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น